วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สาระน่ารู้ๆ🙈

ทุกคนรู้มั้ย?
ทำไมคนเราถึงชอบกินเผ็ดกัน???
เพราะว่า เมื่อเวลากินของเผ็ด
ฮอร์โมน "เอ็นโดฟิน" ซึ่งเป็นสารเเห่งควาทสุข🙂
ทำให้คนเราถึงชอบกินเผ็ด

วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วิธีทำ โดนัท แสนอร่อย 


ทำอาหารง่ายๆ กับครัวพิศพิไล วันนี้มีเมนูขนมทอดมาฝากค่ะ โดนัททอด สูตรแป้งนุ่ม ทำกินเองที่บ้านได้แล้วค่ะ ใครชอบกินโดนัท มาดูวิธีทำกนค่ะ . ✅ ส่วนผสม แป้งโดนัท - แป้งสาลีเอนกประสงค์ ( บัวแดง ) 400 g - น้ำตาลทราย 50 g - ยีตส์ 9 g - ไข่ไก่ 2 ฟอง - นมสด 140 ml - วนิลา 1 ช้อนชา - เนยจืด 70 g - นมผง 20 g - เกลือ 1/2 ช้อนชา - น้ำมันสำหรับทอด 500 ml . ✅ ส่วนผสม น้ำตาลเคลือบโดนัท - น้ำตาลไอซิ่ง 200 g - นมจืด 60 ml - เนยจืด 20 g - ผงชาโค , กลิ่น,สีผสมอาหาร ตามชอบ . . ✅ วิธีทำ เริ่มจากการ เอานมไปอุ่น ใส่น้ำตาลทรายคนให้พอละลาย ใส่เกลือ กลิ่นวนิลา ผงยีสต์ พักไว้ 10-15 นาที . เตรียมชามผสม ตะแกรงสำหรับร่อนแป้ง ใส่แป้งสาลีเอนกประสงค์ นมผง แล้วร่อนใส่ชามเตรียมไว้ จากนั้นก็เขี่ยแป้งให้เป็นหลุมตรงกลาง ใส่ไข่ 2 ฟอง ยีสที่เราผสมไว้เทใส่ลงไปตรงกลาง เนยจืดเอาไปละลาย แล้วใช้ส้อมคนแป้งกับของเหลวให้เข้ากัน จนคนไม่ได้แล้ว เปลี่ยนมาใช้มือนวด ถ้าเหลวไปเติมแป้งเพิ่มได้ เอาออกมานวดบนโต๊ะจะง่ายกว่าค่ะ โดยโรยแป้งนวลบนโต๊ะ จะได้ไม่ติดโต๊ะค่ะ นวดประมาณ 10 นาที ใส่ชามที่โรยแป้งนวล แล้วพักแป้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แลปพลาสติกไม่ให้โดนลม วางไว้ที่อุณภูมิห้อง ไม่ต้องใส่ตู้เย็นค่ะ . พอพักแป้งได้ที่แล้ว ชกไล่ลม เอาออกมานวดอีกประมาณ 5 นาที แล้วคลึงให้เป็นแผ่นบางประมาณ 1 เซ็น หรือหนาบางได้ตามชอบค่ะ เอาพิมพ์มากดเป็นวงกลม ใช้พิมพ์ไข่ดาว หรือแก้วก็ได้ค่ะ ตามคลิปเลยค่ะ พักไว้ในถาดที่รองด้วยกระดาษไข พักไว้อีก 15-20 นาที . ตั้งกระทะใส่น้ำมัน ใช้ไฟอ่อนกลางๆ ในการทอด ทอดให้สุกดีทีละด้าน ตักพักไว้มนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน . การทำน้ำราดหน้าขนมโดนัท ตั้งกระทะ ใส่นม ตามด้วยเนยจืด คนให้ละลาย ใส่น้ำตาลไอซิ่งลงไป พอเดือดปุดๆ ก็ใช้ได้แล้วค่ะ เทใส่ถ้วย โดยแบ่งเป็น 3 ถ้วย เพื่อผสมสี ผสมกลิ่น ตามชอบเลยค่ะ เอาโดนัทลงไปจุ่ม พักไว้ในตะแกรง พอแห้งก็จัดใส่จานเสิร์ฟได้เลยค่ะ หรือจะไม่จุ่มน้ำตาลแบบนี้ก็ได้ค่ะ จะคลุกกับน้ำตาลทราย น้ำตาลไอซิ่ง ก็ได้ค่ะ ปรับได้ตามชอบเลยค่ะ . ใครชอบกินโดนัททอด แป้งนุ่มๆ แบบนี้ ลองทำดูค่ะ อร่อยใช้ได้ ^^


โดย
ด.ญ.กัญญาณัฐ กิจเจริญ ชั้น 6/8 เลขที่  29

วิธี ทำ "ข้าวผัดไข่'

การทำข้าวผัดไข่ง่ายๆ อร่อยๆ


สวัสดีค่ะ มีเมนู " ข้าวผัดไข่ " มาฝากจ้า ง่ายๆอร่อยใครชอบกินข้าวผัด เข้าครัวเลยค่ะ หรือเที่ยงนี้ไม่รู้กินอะไรดี ลองข้าวผัดไข่หน่อยมั้ย ^^ . ✅ ส่วนผสม - ข้าวสวย 1 ชามใหญ่ๆ ( สำหรับ 2-3 ที่ ) - ต้นหอมซอย 2-3 ช้อนโต๊ะ - แครอทหั่นเต๋าเล็กๆ ครึ่งถ้วย - ไข่ไก่ 3 ฟอง - กระเทียมสับ 2 ช้อนโต๊ะ - น้ำมันพืช 1.5 ช้อนชา - ซอสปรุงรส 3 ช้อนชา - น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา - น้ำมันหอย 1.5 ช้อนโต๊ะ - แตงกวา,มะนาว,ต้นหอม, ผักดอง,พริกน้ำปลา ✅ วิธีทำ เริ่มจากการตั้งกระทะ เปิดไฟแรง ใส่น้ำมันพืชลงไป ใส่กระเทียมสับ ผัดให้เหลืองหอม เขี่ยกระเทียมไว้ด้านข้าง ใส่ไข่ลงไป ยีไข่ให้เกือบสุก ใส่ข้าวสวยลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ใส่แครอทหั่นเต๋าลงไป ผัดพอเข้ากันดี ปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย น้ำมันหอย ซอสปรุงรส ผัดให้เข้ากันดี และกระจายข้าวให้ทั่วกระทะ เพื่อที่ข้าวจะได้แห้งดี ชิมรสแล้วปรุงให้ได้ตามชอบ จากนั้นก็ปิดแก๊ส ใส่ต้นหอมซอยก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ ตักใส่จาน โรยด้วยต้นหอมซอยเพื่อความสวยงาม หั่นแตงกวาวางลงไปข้างจาน มะนาวสักซีก ต้นหอมวางข้างๆ เสิร์ฟพร้อมผักดอง กับพริกน้ำปลา แค่นี้ก็ได้มื้ออร่อยง่ายๆ แล้วค่ะ . เคล็ดลับในการทำข้าวผัดให้อร่อย ไฟต้องแรง ใช้ข้าวสวยที่เย็นสนิทเท่านั้น ถ้าใช้ข้าวร้อนเวลาทำข้าวผัด ข้าวจะแฉะไม่อร่อยค่ะ การใส่ไข่ ต้องผัดให้ไข่สุกประมาณ 80-90 % ก่อน ค่อยใส่ข้าวลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากับไข่ ทำแบบนี้ไข่จะไม่เกาะข้าวเยอะเกินไป ข้าวก็จะเป็นสีเหลืองสวยค่ะ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปขอบคุณ

โดย 
1. ด.ญ. กัญญาณัฐ  กิจเจริญ ป.6/8 เลขที่ 29

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

วันรัฐธรรมนูญ

วันรัฐธรรมนูญ




ประวัติความเป็นมา

            การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  

            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย  

           
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ  

           
อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  

           
รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร 

           จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอก พระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ 

           
พระมหากษัตริย์ 
           
           
สภาผู้แทนราษฎร 
           
           
คณะกรรมการราษฎร 
           
           
ศาล

          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่าง ๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 20 ฉบับ

          1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475) 

          
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
   
          
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
    
          
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
    
          
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศจิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

          
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
  
          
7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)
 
          
8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

          
9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
   
          
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

          
11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
    
          
12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
   
          
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
   
          
14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
   
          
15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
    
          
16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
   
          
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
    
          
18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - 22 กรกฎาคม 2557)
          19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม 2557-6 เมษายน 2560)
           20. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ุ6 เมษายน 2560-ปัจจุบัน)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปขอบคุณการ์ตูน
1. ด.ญ. กัญญาณัฐ  กิจเจริญ เลขที่ 29 ชั้นประถมศึกษาปีที่6/8

2. ด.ญ.ปฏิญญา เรืองโรจนพร เลขที่41 ฃั้นประถมศึกษาปีที่6/8


วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ของเรา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเด็กสวัสดี
ด.ญ.กัญญาณัฐ กิจเจริญ ชั้น  ป.6/8 เลขที่ 29
ด.ญ.สวิชญา สักลอ ชั้น  ป.6/8 เลขที่ 30